แนะนำจังหวัด
ประวัติความเป็นมา
ปราจีนบุรีก่อนอยุธยา
ปราจีนบุรี หรือ เมืองปราจีนบุรี ในสมัยก่อนอยุธยา เริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย แล้วพัฒนามาเป็นกลุ่มบ้านเมืองในสมัยประวัติศาสตร์ จนเข้าสู่สมัยสุโขทัย ซึ่งไม่ ปรากฎหลักฐานทางเอกสาร แต่ได้พบเครื่องถ้วยจีนที่มีอายุตรงกับสมัยราชวงศ์ซ้อง จึงเชื่อว่าในสมัยสุโขทัยบริเวณพื้นที่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี ยังคงมีผู้คนบางส่วนอาศัยอยู่สืบเนื่องกันมา
ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีปรากฎการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยโบราณเมื่อประมาณ 2,000 – 2,500 ปี มาแล้ว ซึ่งตรงกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Proto-history) ที่แหล่งโบราณคดีบ้านกระทุ่มแพ้ว ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง บ้านหนองอ้อ ตำบลดงพระราม อำเภอเมือง และบ้นดงชัยมัน ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม
โบราณคดีที่พบ ได้แก่ ลูกปัดแก้วแบบอินโด – แปซิฟิก สีต่าง ๆ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน หินอะเกตและหินควอตซ์ เครื่องมือเหล็ก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียงและอินเดีย โดยเฉพาะที่บ้านดงชัยมันได้พบชิ้นส่วนกลองมโหระทึกซึ่งเป็นโบราณวัตถุในวัฒนธรรมดงซอน เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมซึ่งพบทางตอนใต้ของจีน และในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย
บริเวณที่ตั้งเมืองโบราณศรีมโหสถ ต.โคกปีบ อ.ศรีมโหสถ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชุมชนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ในชุมชนบริเวณดังกล่าวรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มหมู่บ้านเกษตรกรรม มีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนกับวัฒนธรรมภายนอกแต่ยังไม่มีการสร้างเมืองที่มีคันดิน คูน้ำล้อมรอบชุมชน ในระยะนี้อาจมีความสัมพันะกับอาณาจักรฟูนัน และมีการแลกเปลี่ยนค้าขายกับนักเดินเรือจากต่างประเทศ หลักฐานที่พบแสดงอิทธิพลวัฒนธรรมฟูมันและอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียแบบอมราวดี หลักฐานสำคัญที่พบ ได้แก่ ภาพสลักนูนต่ำและประติมากรรมบางชิ้นที่พบในบริเวณนี้คือภาพมกรหรือเหราบางตัวที่ขอบโบราณสถานสระแก้วมีลักษณะคล้ายมกรในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ส่วนประติมากรรมบางชิ้น ได้แก่ พระพุทธรูปที่พบในบ่อน้ำหน้าอาคารรอยพระบาทคู่ และจากการค้นพบเครื่องมือหินขัดทำให้พออนุมานได้ว่าชุมชนดังกล่าวน่าจะมีความสัมพันะกับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่พบตามแนวชายฝั่งทะเลเดิม บริเวณลุ่มน้ำบางปะกงแถบจังหวัดชลบุรี ซึ่งเริ่มมีถิ่นฐานเมื่อประมาณ 5,000 – 1,400 ปี มาแล้ว
สรุปได้ว่าการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เริ่มแรกในเขตจังหวัดปราจีนบุรี เป็นสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ที่มีเทคโนโลยีค่อนข้างสูงในการดำรงชีวิตคือการรู้จักใช้เครื่องมือเหล็กและการรู้จักใช้วิธีกักเก็บน้ำ ต่อมาสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นจนเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 6-10 ได้รับวัฒนธรรมภายนอกและเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ พัฒนาเป็นชุมชนหรือเมืองที่รู้จักกันในชื่อว่า กลุ่มวัฒนธรรมทวารวดี มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-19
การเกิดบ้านเมืองในสมัยประวัติศาสตร์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-19 แบ่งจังหวัดปราจีนบุรีออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงแรกมีความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาการเป็นบ้านเมืองร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองทวารวดีในบริเวณภาคกลางของประเทศมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 และช่วงที่ 2 เป็นการอยู่สืบเนื่องต่อจากช่วงแรกแต่สภาพสังคม การเมือง การปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เชื่อว่าช่วงเวลาดังกล่าวนี้ได้รับวัฒนธรรมเขมรโบราณเข้ามา มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมทวารวดีที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน
ปราจีนบุรีสมัยอยุธยา – ธนบุรี
สมัยอยุธยา
ในสมัยอยุธยาปรากฎชื่อเมืองปราจีนบุรีเป็นครั้งแรก ซึ่งคำว่า “ปราจีนบุรี” เป็นคำสมาสเกิดจากคำว่า “ปราจีน” กับคำว่า “บุรี” คำว่า “ปราจีน” หรือ “ปาจีน” หมายความว่าทิศตะวันออก ส่วนคำว่า “บุรี” หมายความว่า “เมือง” รวมแล้วคำว่า “ปราจีนบุรี” หมายถึงเมืองตะวันออก การเขียนชื่อเมืองปราจีนบุรีแตกต่างกันไป เช่น ปราจินบุรี ปราจิณบุรี และปาจีนบุรี แต่ความหมายน่าจะหมายถึงเมืองทางตะวันออกของราชอาณาจักรไทย
ปราจีนบุรีในฐานะหัวเมืองชั้นใน ต้นทิศตะวันออกสันนิษฐานพบว่าในสมัยอยุธยาตอนต้นก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) เมืองปราจีนมีฐานะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ราชธานีคือกรุงศรีอยุธยา โดยทางกรุงศรีอยุธยาจะส่งขุนนางมาปกครองโดยให้ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง และหลังจากการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว การปกครองหัวเมืองก็เปลี่ยนไปจากเดิมคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอนก และหัวเมืองประเทศราชและแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้น เอก โท ตรี และจัตวา ทรงลดฐานะหัวเมืองชั้นในคือเมืองลูกหลวงและเมืองหลานหลวงลงมาเป็นเมืองจัตวาภายใต้การปกครองของราชธานี โดยทางราชธานีจะส่งขุนนางมาปกครองและขึ้นตรงต่อเมืองหลวง และขุนนางที่ปกครองหัวเมืองชั้นในเรียกว่า “ผู้รั้ง” เขตที่จัดเป็นหัวเมืองชั้นในมีอาณาบริเวณดังนี้ ทิศเหนือจดเมืองชัยนาท ทิศตะวันออกจดเมืองปราจีน ทิศตะวันตกจดสุพรรณบุรี ทิศใต้จดเมืองกุยบุรี
เมืองปราจีนบุรีหลังการปฏิรูปในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงเป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นกับราชธานี ตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้รั้งมีบรรดาศักดิ์และราชทินนามที่ ออกพระอุไทยธานี
เมืองผ่านของเส้นทางเดินทัพไทย – กัมพูชา
จากลักษณะทำเลที่ตั้งของเมืองปราจีน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กับประเทศกัมพูชา เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดปราจีนบุรีในสมัยอยุธยาจึงเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับสงครามระหว่างสองราชอาณาจักร โดยฝ่ายกัมพูชามักจะเป็นต้นเหตุซึ่งอาจเนื่องมาจากกัมพูชาเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นราชอาณาจักใหม่จึงไม่ยอมรับอำนาจมากนัก ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยามีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและขณะเดียวกันราชอาณาจักกัมพูชากลับเสื่อมโทรมภายในมากขึ้น กัมพูชาจึงยอมรับราชอาณาจักรอยุธยาในฐานเจ้าประเทศราช กษัตริย์ กัมพูชาต้องมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารหลายครั้ง
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อกรุงศรีอยุธยามีศึกติดพันกับพม่าหรือมีความอ่อนแอภายใน กัมพูชาก็ถือโอกาสมากวาดต้อนผู้คนตามแนวชายแดนของราชอาณาจักรอยุธยาอย่างเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงยกทัพไปตีกัมพูชาโดยใช้เส้นทางบก โดยยกทัพหลวงออกจากกรุงศรีอยุธยามาทางตะวันออก ผ่านพิหานแดง (วิหารแดง) บ้านนา เมืองนครนายก ด่านกบแจะ (ประจันตคาม) ด่านหนุมาน (กบินทร์บุรี) ด่านพระปรง (อ.เมืองสระแก้ว) ช่องตะโก ด่านพระจารึกหรือพระจฤต (อรัญประเทศ – ตาพระยา) ตำบลทำนบ อยู่ระหว่างเมืองอรัญประเทศและเมืองพระตะบอง ตำบลเพนียด เมืองประตะบอง เมืองโพธิสัตว์และเมืองละแวก
สมัยธนบุรี
ในสมัยธนบุรีได้กล่าวถึงเมืองปราจีนเพียงว่าเป็นเมืองที่อยู่ในเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ยกทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองจันทบุรี กล่าวคือเมื่อ พ.ศ. 2309 ขณะที่กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งเป็นพระยากำแพงเพชรทรงเล็งเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาจะเป็นอันตราย จึงรวบรวมทหารไทย จีน ประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยอายุธออกไปตั้ง ณ วัดพิชัย พอฝนตกพระยากำแพงเพชรจึงนำกองทัพฝั่งกองทัพพม่าออกมาจากวัดพิชัยเดินทัพต่อไป โดยมีจุดหมายอยู่ที่เมืองจันทบุรี โดยเมืองปราจีนบุรีอยู่ในเส้นทางเดินทัพ ซึ่งตามพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับจันทนุมาศ (เจิม) ได้กล่าวไว้ว่า…เมื่อวันพุธขึ้นแปดค่ำ เดือนยี่ ยกกองทัพมาประทับที่ตำบลหนองไม้ซุงตามทางหลวงนครนายก ประทับรอนแรม 2 วันถึงบ้านนาเริ่ง ออกจากบ้านนาเริ่งวันหนึ่งถึงเมืองปราจีน ข้ามด่านกบและหยุดพักพลหุงอาหาร ณ ฟากตะวันออกแล้วยกข้ามไปจนึถงบ่าย 5 โมง…
ปราจีนบุรีสมัยรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองปราจีนยังคงเป็นเมืองผ่านของเส้นทางเดินทัพระหว่างไทยกับกัมพูชา มีผู้คนอยู่อาศัยมากขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นหลายเมือง เช่น เมืองกบินทร์บุรี เมืองอรัญประเทศ เมืองวัฒนานคร เป็นต้น ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองบางขนากขึ้นส่งผลให้การติดต่อระหว่างเมืองปราจีนบุรีและเมืองพระนครสะดวกรวดเร็วขึ้น
ต่อมาในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้มีพระราชดำริที่จะสร้างป้อมเมืองปราจีน แต่ได้ลงมือสร้างและแล้วเสร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปราจีนเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ เพราะมีการค้นพบแหล่งทองคำที่เมืองกบินทร์บุรี มีการทำเหมืองทองคำ ต่อมาเมื่อปฏิรูปการปกครองจากระบบกินเมืองเป็นระบบเทศาภิบาล ได้ใช้เมืองปราจีนเป็นที่ว่าการมณฑลปราจีน ส่งผลให้เมืองปราจีนกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคตะวันออก ครั้นเมื่อได้ย้ายที่ว่าการมณฑลปราจีนไปอยู่ที่เมืองฉะเชิงเทรา ทำให้เมืองปราจีนลดความสำคัญลง ประกอบกับเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนไป คือมีการตัดเส้นทางรถไฟจากรุงเทพฯ ถึงเมืองฉะเชิงเทรามีคนจีนไปสร้างหลักแหล่งในฉะเชิงเทรามากขึ้น มีโรงงานน้ำตาล โรงสีข้าว อันส่งผลให้เมืองฉะเชิงเทรากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญแทนเมืองปราจีนบุรี
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ 2475 ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 ให้มีตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดแบบผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรมการจังหวัด และสภาจังหวัด ส่งผลให้มณฑลเทศาภิบาลปราจีนบุรีถูกยกเลิกไป เมืองปราจีนบุรีมีฐานะเป็นจังหวัดปราจีนบุรี
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ออก “พระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครอง บางจังหวัด พุทธศักราช 2485” ให้ยุบและรวมการปกครองจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครนายก จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนนทบุรี ในส่วนของจังหวัดนครนายกนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับจังหวัดปราจีนบุรีโดยกำหนดไว้ดังนี้
…มาตรา 4 ให้ยุบจังหวัดนครนายกและให้รวมท้องที่ของจังหวัดที่ยุบเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี เว้นแต่ท้องที่อำเภอบ้านนาให้รวมเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดสระบุรี…
การรวมท้องที่บางส่วนของจังหวัดนครนายกไว้ในเขตการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรีส่งผลให้จังหวัดปราจีนบุรีที่เดิมมีท้องที่กว้างขวางอยู่แล้ว ให้มีท้องที่กว้างขวางเพิ่มมากขึ้นเกินกำลังจังหวัดจะรับผิดชอบ ทำให้การติดต่อดูแลทุกข์สุขของประชาชนและการปกครองของราษฎรไม่เป็นผลดีเหมือนเมื่อนครนายกเป็นจังหวัดอยู่ กระทรวงมหาดไทยจึงได้เสนอร่างหลักการ “พระราชบัญญัติสถาปนาจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489” โดยได้สอบถามจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระบุรี และในที่สุดรัฐบาลได้ออก “พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคาร และจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489” โดยระบุในพระราชบัญญัติว่า
…มาตรา 6 ให้แยกอำเภอนครนายก อำเภอองครักษ์ และอำเภอปากพลีออกจากการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี กับให้แยกอำเภอบ้านนาออกจากการปกครองของจังหวัดสระบุรี จัดตั้งเป็นจังหวัดขึ้นเรียกว่าจังหวัดนครนายก…
ต่อมา พ.ศ. 2536 ได้มีการแบ่งเขตพื้นที่การปกครองจังหวัดปราจีนบุรี โดยแยกพื้นที่อำเภอบางอำเภอไปอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดสระแก้ว ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2536
แนะนำแหล่งท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี โทร 0 3735 6033, 08 1877 3127, 08 6092 6531 อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นอุทยานที่ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด นับว่าเป็นอุทยานแห่งแรกของประเทศไทย เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำนครนายก ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเต็มไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า กวาง เก้ง กระทิง เสือ เป็นต้น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นี้มีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่มากมาย เช่น น้ำตกตาดหินยาว น้ำตกตระคร้อ น้ำตกสลัดได ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจการเดินท่องป่า และพักค้างแรมแบบผจญภัย นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเดินป่าได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติหรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติทับลาน
ทับลาน ตั้งอยู่ที่ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี การเดินทางจากทางหลวงหมายเลข 33 ถึงอำเภอกบินทร์บุรี เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 304 ระยะทางประมาณ 32 กม. อุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่อยู่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีและนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 2,240 ตร.กม. หรือ 1,400,000 ไร่ นับเป็นป่าลานที่ขึ้นเองตามธรรมชาติแห่งสุดท้ายของประเทศไทย เป็นพันธุ์ไม้ ดึกดำบรรพ์ตระกูลปาล์มที่หายาก จะออกดอกเมื่อต้นมีอายุ 20 ปีขึ้นไป ช่วงฤดูออกดอกในราวเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ดอกมีสีเหลืองสดสวยงามมาก หลังออกดอกแล้วต้นลานนั้นจะตายไป นอกจากดงลานแล้ว พื้นที่อุทยานฯ ยังปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง และป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและนกชนิดต่างๆ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่ | ||||||||||
น้ำตกเขาอีโต้ตั้งอยู่ในวนอุทยานน้ำตกเขาอีโต้ เป็นธารน้ำที่ไหลตลอดทั้งปี มีน้ำมากเฉพาะในช่วงฤดูฝน มีแอ่งน้ำเล็ก ๆ อยู่เป็นชั้น ๆ ทุกชั้น สลับกับแนวโขดหิน แต่ละแอ่งน้ำไม่ลึกและไหลไม่แรงมากนัก แม้จะเป็นธารน้ำตกขนาดไม่ใหญ่มาก แต่มีจุดเด่นตรงที่สามารถเข้าไปนั่งพักผ่อนในแนวโขดหินของตัวน้ำตกได้ และสามารถสัมผัสกับสายน้ำที่ไหลผ่านลอดแนวโขดหินได้อย่างใกล้ชิดที่สุด โดยในแนวโขดหินภายในตัวน้ำตกก็จะมีต้นไม้ขนาดไม่ใหญ่มากที่สลับแซมขึ้นตลอด แนวช่วยให้ร่มเงา บรรยากาศร่มรื่นและค่อนข้างชื้นเล็กน้อยมีลมพัดมาเบา ๆโดยตลอด อากาศดีเย็นสบาย สร้างความสุขให้กับการพักผ่อนได้เป็นอย่างดี หลังจากที่ชมน้ำตกเขาอีโตแล้ว ก็เดินทางไปยังเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในวนอุทยานน้ำตกเขาอีโต้เพื่อมุ่งหน้าไปพิสูจน์รถไหลขึ้นเนินที่เนินพิศวง ออกจากตัวน้ำตกมาเล็กน้อยแล้วเลี้ยวขวาเข้าที่ทำการอุทยานตรงไปตามเส้นทาง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร โดยพื้นที่ทั้งสองข้างทางเต็มไปด้วยพื้นป่าโปร่งธรรมชาติและป่าปลูกที่พัฒนา ขึ้นเพื่อรักษาต้นน้ำของน้ำตกเขาอีโต้ ตลอดเส้นทางมีพวกสัตว์ป่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในวนอุทยานแห่งนี้ให้เราได้ชมและศึกษาอีกด้วย อย่างพวกนกนานาชนิด, ไก่ป่า และอีกหลายชนิด เส้นทางศึกษาธรรมชาติในวนอุทยานน้ำตกเขาอีโต้ เส้นทางศึกษาธรรมชาติแห่งนี้ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้สูงทั้งสองข้างทางที่เอนตัว เข้าหากันคล้ายอุโมงค์ต้นไม้ เพื่อปกปิดไอร้อนให้กับนักเดินทางที่เข้ามาสัมผัสในเส้นทางสายนี้ และเป็นเส้นทางที่นิยมในการใช้ศึกษาธรรมชาติโดยปั่นจักรยาน เพราะอากาศไม่ร้อนจนเกินไป เมื่อเราเดินทางมาถึงบริเวณที่เรียกว่าเนินพิศวง เนินแบบนี้มีในหลายพื้นที่ของเมืองไทย เช่น ที่จังหวัดแพร่, ตาก แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้น ๆ ตรงช่วงทางที่เป็นแอ่งโค้งรับเพื่อลงเนินและขึ้นเนินเท่านั้น เนินพิศวงแห่งนี้ไม่เหมือนที่อื่น ๆ ที่นี่จะเป็นทางลงเนินยาวประมาณ 100 เมตร จุดทดสอบคือจุดที่ 70 เมตรซึ่งมีความแปลกกว่าที่อื่นมาก คือรถยังลงเนินไม่สุดคือยังไม่ถึงจุดต่ำสุด แต่สามารถไหลกลับขึ้นไปที่เนินได้เมื่อหยุดรถและไม่ต้องใส่เกียร์หรือดึง เบรก และที่สำคัญไหลด้วยความเร็วเหมือนเราปล่อยเกียร์ว่างตอนลงเนินเลยทีเดียว |
น้ำตกตะคร้อ
มีลักษณะเป็นแก่งน้ำกว้างมีสะพานแขวนทอดข้ามลำธาร ฝั่งซ้ายของลำธาร เป็นเนินเขา ฝั่งขวาเป็นป่าโปร่งมีทางเดินเท้าเลียบลำธาร มีความร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน และมีทางลงเล่นน้ำได้หลายจุด บริเวณน้ำตกตะคร้อมีทางเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกสลัดได ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม สภาพแวดล้อม
ยังคงความเป็นธรรมชาติ
การเดินทางไปชมน้ำตกสลัดได ควรติดต่อขอผู้นำทางจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 10 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณน้ำตกตะคร้อ โทร. 0-3721-9408..
น้ำตกธารทิพย์
ตั้งอยู่ที่บ้านเนินหินตั้ง ตำบลหนองแก้ว อำเภอประจันตคาม เข้าทางเดียวกับน้ำตกตะคร้อ จะมีทางแยกซ้ายมือตรง กม.9 เข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตรเป็นธารน้ำที่ไหลผ่านชั้นหินต่างระดับบางช่วงไหลผ่านลาดหินบริเวณกว้าง
บางช่วงเป็น แอ่งน้ำลึกสามารถลงเล่นน้ำได้ฝั่งซ้ายของลำธารลักษณะค่อนข้างสูงชันสภาพโดยทั่วไปยังเป็นป่าที่คงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ บรรยากาศร่มรื่นเหมาะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างดี..
น้ำตกส้มป่อย
ตั้งอยู่ที่บ้านเขาน้อย ตำบลบุฝ้าย อำเภอประจันตคาม เข้าทางเดียวกับน้ำตกตะคร้อ ก่อนถึงน้ำตกตะคร้อจะมีทางแยกซ้ายมือ ที่ กม.14 เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตรเป็นน้ำตกที่ไม่สูงมากนักไหลลดหลั่นผ่านแก่งหินเป็นระยะทางยาวประมาณ 400 เมตร มีแอ่งน้ำให้ลงเล่นน้ำได้เป็นระยะ ๆ ตลอดลำธาร
ล่องแก่งหินเพิง
อ๊าย ว๊าย กรี๊ด ความตื่นเต้น ท้าทาย ล่องแก่งหินเพิง อ๊าย ว๊าย กรี๊ด เสียงที่คุณจะได้ยินไปตลอดทาง ไม่ใช่ไวกิ้งที่ดรีมเวิร์ล แต่ตื่นเต้น ท้าทาย กว่ากันมาก การล่องแก่งสายนี้จุดเด่นอยู่ที่ตัวแก่งหินเพิงอันเป็นจุดเริ่มต้นของการล่องแก่ง เมื่อถึงฤดูฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม กระแสน้ำจะไหลหลากอย่างรุนแรงก่อให้เกิดเกาะแก่งมากมาย ตัวแก่งหินเพิงมีลักษณะเป็นลานหินหักเท ลื่นลงมาจนเกิดเป็นกระแสน้ำวนและเชี่ยวกราก ต้องใช้ความสามารถและทักษะในการพายเป็นอย่างยิ่ง
จากจุดเริ่มต้นเหนือแก่งหินเพิงลงมาจะผ่านแก่งวังบอน บริเวณนี้มีโขดหินสองฝั่งขวางกระแสน้ำอยู่ บีบให้กระแสน้ำเข้าหากัน เป็นรูปตัววี และถ้าผ่านแก่งวังบอนมาได้ กระแสน้ำหลังแก่งวังบอนจะไหลย้อนทิศทางตรงนี้สามารถพักเรือบริเวณนี้ได้ ล่องเรือต่อมาจะพบกับแก่งลูกเสือ ซึ่งมีความสนุกสนานเร้าใจไม่แพ้แก่งหินเพิง และผ่านไปจนถึงแก่งวังไทร และ แก่งงูเห่า ซึ่งเป็นแก่งสุดท้ายของการล่องแก่ง สายน้ำช่วงนี้แก่งวังไทรจะมีลักษณะเป็นคลื่นใหญ่ม้วนตัวขึ้นเป็นวง สร้างความตื่นเต้น เร้าใจได้พอสมควร
ล่องแก่งหินเพิง ใช้แพยางนั่งได้ประมาณ 8 -10 คน ล่องในลำน้ำใสใหญ่ สภาพแก่งน้ำความยากอยู่ในระดับ 3 -5จะต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการพายสูง เมื่อติดต่อล่องแก่งกับผู้ประกอบการล่องแก่งหินเพิงแล้ว ผู้ประกอบการฯ จะพาไปยังบริเวณขญ. 9 (ใสใหญ่) และเดินป่าไปยังต้นน้ำ ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 45 นาที จากนั้นจะเริ่มล่องแก่ง ผ่านแก่งทั้ง 6 ที่ท้าทาย แตกต่างกัน แก่งหินเพิง, แก่งวังหนามล้อม, แก่งวังบอน, แก่งลูกเสือ, แก่งวังไทร ,แก่งงูเห่า และล่องเรือชมธรรมชาติ และลงเล่นน้ำที่เย็นชุ่มฉ่ำในลำน้ำใสใหญ่ ระยะทางกว่า 7 กม. มายังจุดสุดท้ายบริเวณ ขญ.9
ลักษณะของสายน้ำ
แก่งหินเพิง เป็นแก่งหินตอนปลายสุด ของแม่น้ำใสใหญ่ ซึ่งมีลักษณะทางธรณีวิทยา เป็นชั้นหินทราย ครั้นเมื่อถึงฤดูฝน กระแสน้ำ จะไหลหลากอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดเกาะแก่ง ต่าง ๆ มากมาย
แก่งหินเพิงเป็นที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ชอบความท้าทายกับสายน้ำ อันเชี่ยวกราก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม กระแสน้ำบริเวณแก่งหินเพิงจะไหลรุนแรงมาก
แก่งหินเพิงเป็นที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ชอบความท้าทายกับสายน้ำ อันเชี่ยวกราก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม กระแสน้ำบริเวณแก่งหินเพิงจะไหลรุนแรงมาก
แก่งหินเพิง
เป็นจุดเริ่มต้นของการล่องแก่ง ลักษณะหินของแก่งหินเพิง เป็นแก่งยาวประมาณ 150 เมตร ในช่วงฤดูฝน เป็นสุดยอดของการล่องแก่ง ทริปนี้
แก่งผักหนามล้อม
แก่งผักหนามล้อม
มีลักษณะเป็นวังน้ำขนาดใหญ่กระแสไหลวนไปมา
แก่งวังบอน
แก่งวังบอน
เป็นแก่งหินสั้น ๆ ยาวประมาณ 30 เมตร กระแสน้ำจะไหล ลาดเอียงลงมาประมาณ 30 องศาผ่านชั้นหินและเกาะต่าง ๆ จากนั้นน้ำจะไหล เอื่อย ๆ ลงมายังแก่งลูกเสือ
แก่งลูกเสือ
แก่งลูกเสือ
มีลักษณะเป็นแก่งน้ำเล็ก ๆ มีร่องน้ำสามารถพายเรือยางผ่านไปได้ แต่ต้องระมัดระวังอันตรายจากกิ่งไม้ที่ยื่นออกมา
แก่งวังไทร
แก่งวังไทร
มีลักษณะเป็นแก่งหินกว้างประมาณ 50-60 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ความกว้างของแก่งพอ ๆ กับแก่งลูกเสือ มีความลาดชันประมาณ 30 องศา กระแสน้ำจะไหลผ่านเกาะแก่งต่างๆ แล้วม้วนตัวเป็นวงคลื่น ต้องใช้ ทักษะความชำนาญในการพายเรือค่อนข้างสูง
แก่งงูเห่า
แก่งงูเห่า
ตั้งอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าที่ ขญ.9 ถ้าปริมาณน้ำไม่มากนัก จะแลเห็นเกาะแก่งต่าง ๆ โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ แต่ถ้าอยู่ในช่วงฤดูฝน กระแสน้ำ จะไหลท่วมเกาะแก่งต่าง ๆ จนมีลักษณะคล้ายกับฝายกั้นน้ำ
การล่องแก่งหินเพิงส่วนมากจะมาขึ้นฝั่งกันบริเวณแก่งวังไทร เพราะมีห้องสุขา และห้องอาบน้ำไว้บริการนักล่องแก่ง หรืออยากจะพักผ่อนนั่งรับประทาน อาหารกลางวันที่ทางรีสอร์ทจัดไว้ให้ก็ได้ เป็นอันสิ้นสุดการผจญภัยในแก่งหินเพิง
การล่องแก่งหินเพิงส่วนมากจะมาขึ้นฝั่งกันบริเวณแก่งวังไทร เพราะมีห้องสุขา และห้องอาบน้ำไว้บริการนักล่องแก่ง หรืออยากจะพักผ่อนนั่งรับประทาน อาหารกลางวันที่ทางรีสอร์ทจัดไว้ให้ก็ได้ เป็นอันสิ้นสุดการผจญภัยในแก่งหินเพิง
ความปลอดภัย : มีหน่วยรักษาความปลอดภัยประจำทุกจุด
ด้วยลักษณะของแก่งหินเพิงถือว่ามีความยากระดับ 3 - 5 การล่องต้องใช้ทักษะและความระมัดระวัง ความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้น ตามแก่งต่าง ๆ ทั้ง 6 แก่ง จึงมีหน่วยรักษาความปลอดภัยประจำทุกจุด ทุกคนผ่านการฝึกอบรมและทดสอบการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ มีชูชีพ เชือก อุปกรณ์ พร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด
ข้อควรระวังในการล่องแก่งหินเพิง
- สวมชูชีพและหมวกกันน็อคทุกครั้งที่ลงล่องแก่ง
- ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัยโดยเคร่งครัด
- ควรเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของไกด์นำทาง
- ควรละเว้นการดื่มสุราและของมึนเมาในขณะลงล่องแก่ง
ล่องแก่งหินเพิงมีทั้งแบบคนเดียว และ เหมาลำ
- มาน้อยคนละ 500 บาท
- เหมาลำ ราคาประมาณ 3,000 บาท / 8 ท่าน
- ราคานี้รวม ค่าเรือยาง ล่องแก่งหินเพิง 1 รอบ + ค่าอุปกรณ์สำหรับ ล่องแก่ง + ค่าประกันอุบัตติเหตุขณะ ล่องแก่ง + ค่าเจ้าหน้าที่ควบคุม เรือยาง 2 คน + ค่าธรรมเนียมเข้า อุทยานฯ + ค่าเจ้าหน้าที่ดูแล รักษาความปลอดภัยทางน้ำ ขณะ ล่องแก่ง + ค่าอาหารว่าง 1 เบรค
- หากเดินทางท่านหรือสองท่าน เราควรสอบถามรายละเอียดจองเรือยางก่อน เพราะเรือล่องแก่งจะบริการลำละ 8-10 ท่าน ไม่งั้นเราอาจไม่มีสิทธิ์ได้ล่องแก่ง เพราะบางช่วงแก่งหินเพิงคนจะเยอะมากๆ แล้วส่วนมากจะจองเหมาลำกัน
อยู่ห่างจากตัวเมืองปราจีนบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ 135 ถ.ปราจีนตคาม ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ไปทาง อ.ประจันตคาม พื้นที่โดยรอบของพิพิธภัณฑ์โอบล้อมไปด้วยพรรณไม้ สวยงามนานาชนิด อีกทั้งยังมีสัตว์สวยงามต่างๆมากมาย เมื่อท่านได้ก้าวเข้าสู่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ท่านจะได้พบกับตะเกียงจำนวนมหาศาล ซึ่งมีแขวนอยู่ทุกๆที่ ไม่ว่าจะเป็นตามที่จอดรถ ร้านค้า บนเพดาน ตามอาคารต่างๆ แม้กระทั่งห้องน้ำอีกด้วย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีอาคารทั้งหมด 5 อาคาร ซึ่งประกอบไปด้วย
อาคารที่ 1 อาคารราชาวดี
อาคารนี้เป็นอาคารสองชั้น ในส่วนของการจัดแสดงของชั้นล่าง ได้จัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งของโบราณหลากหลายชนิด เช่น เครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง เตารีดโบราณ เครื่องปั้นดินเผา ตู้เย็นใช้น้ำมันก๊าซ เป็นต้น ในส่วนของชั้นสองเป็นชั้นที่รวบรวมตะเกียงเจ้าพายุหลากหลายยี่ห้อ ทั้งยังมีตะเกียงที่มีการใช้งานที่แตกต่างกันไปเช่น ตะเกียงเรือ ตะเกียงฉายสไลด์ นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของส่วนประกอบตะเกียงให้ท่านได้ศึกษาอีกด้วย
อาคารที่ 2 อาคารลีลาวดี
อาคารนี้เป็นอาคารแฝดที่เชื่อมต่อกันทั้งหมดซึ่งมีสองชั้นรวมหกห้อง โดยแบ่งเป็นสองชั้น ชั้นล่างประกอบไปด้วย
- ห้องราชพฤกษ์ ได้จัดแสดงเกี่ยวกับถ้วยชามโบราณ ถาดกระเบื้อง โถพู ขวดน้ำมะเน็ด ซึ่งเป็นขวดน้ำอัดลมในสมัยก่อน
- ห้องชัยพฤกษ์ ส่วนใหญ่ของที่จัดแสดงจะเป็นเครื่องทองเหลือง อาทิ เชี่ยนหมากทองเหลือง ขันลงหิน เตาน้ำมันก๊าซ ตะเกียงลาน
- ห้องกัลปพฤกษ์ ใครที่ชื่นชอบเกี่ยวกับเรื่องของรถจักรยานและ รถจักรยานยนต์ ต้องไม่พลาด ภายในห้องนี้ได้รวบรวมรถจักรยานหลากหลายยี่ห้อรวมไปถึงรถจักรยานยนต์ที่มีหลักการทำงานเป็นสองส่วน คือ จะให้เป็นจักรยาน(ถีบ) หรือเป็นรถจักรยานยนต์ก็ได้ ต่อมาจะเป็นในส่วนของชั้นที่สองซึ่งได้แก่
- ห้องทองกวาว ห้องนี้เห็นได้ว่าจะเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ เพราะภายในห้องนี้เป็นของสะสมที่เป็นของเล่นสังกะสี โดยส่วนใหญ่ และยังมีสามล้อถีบของเด็กในสมัยก่อน ซึ่งเป็นห้องที่เด็กๆจะได้เห็นวิวัฒนาการของของเล่นในอดีตจนถึงปัจจุบัน
- ห้องทองหลาง ภายในห้องนี้ได้จัดแสดงในเรื่องของพระ เช่น พระผง พระเหรียญรวมไปถึงรูปพระเก่าๆอีกมากมายหลายแบบ รวมทั้งพระเครื่องที่ขึ้นชื่อของจังหวัดปราจีนบุรี
- ห้องทองพันชั่ง เป็นการรวบรวมเกี่ยวกับเครื่องคำนวณ ตราชั่งและเครื่องตวงวัดในรูปแบบต่างๆ เช่นตราชั่งคัน ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ในการจัดแสดงของอาคารหลังนี้ ได้จัดแสดงสิ่งของ ออกเป็นหมวดหมู่โดยในแต่ละห้องจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ถัดมาเป็น
- ห้องราชพฤกษ์ ได้จัดแสดงเกี่ยวกับถ้วยชามโบราณ ถาดกระเบื้อง โถพู ขวดน้ำมะเน็ด ซึ่งเป็นขวดน้ำอัดลมในสมัยก่อน
- ห้องชัยพฤกษ์ ส่วนใหญ่ของที่จัดแสดงจะเป็นเครื่องทองเหลือง อาทิ เชี่ยนหมากทองเหลือง ขันลงหิน เตาน้ำมันก๊าซ ตะเกียงลาน
- ห้องกัลปพฤกษ์ ใครที่ชื่นชอบเกี่ยวกับเรื่องของรถจักรยานและ รถจักรยานยนต์ ต้องไม่พลาด ภายในห้องนี้ได้รวบรวมรถจักรยานหลากหลายยี่ห้อรวมไปถึงรถจักรยานยนต์ที่มีหลักการทำงานเป็นสองส่วน คือ จะให้เป็นจักรยาน(ถีบ) หรือเป็นรถจักรยานยนต์ก็ได้ ต่อมาจะเป็นในส่วนของชั้นที่สองซึ่งได้แก่
- ห้องทองกวาว ห้องนี้เห็นได้ว่าจะเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ เพราะภายในห้องนี้เป็นของสะสมที่เป็นของเล่นสังกะสี โดยส่วนใหญ่ และยังมีสามล้อถีบของเด็กในสมัยก่อน ซึ่งเป็นห้องที่เด็กๆจะได้เห็นวิวัฒนาการของของเล่นในอดีตจนถึงปัจจุบัน
- ห้องทองหลาง ภายในห้องนี้ได้จัดแสดงในเรื่องของพระ เช่น พระผง พระเหรียญรวมไปถึงรูปพระเก่าๆอีกมากมายหลายแบบ รวมทั้งพระเครื่องที่ขึ้นชื่อของจังหวัดปราจีนบุรี
- ห้องทองพันชั่ง เป็นการรวบรวมเกี่ยวกับเครื่องคำนวณ ตราชั่งและเครื่องตวงวัดในรูปแบบต่างๆ เช่นตราชั่งคัน ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ในการจัดแสดงของอาคารหลังนี้ ได้จัดแสดงสิ่งของ ออกเป็นหมวดหมู่โดยในแต่ละห้องจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ถัดมาเป็น
อาคารที่ 3 อาคารชวนชม
อาคารหลังนี้เป็นอาคารชั้นเดียว การจัดแสดงภายในของอาคารหลังนี้เป็นการจัดแสดงในเรื่องของรูปเก่าของเมือง ปราจีนบุรีในสมัยก่อน และภาพถ่ายครั้งที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๙) เสด็จมาเยือนจังหวัดปราจีนบุรี ณ.วัดแก้วพิจิตร และมีหนังสือเก่านานาชนิด เช่น หนังสือพิมพ์ที่วางจำหน่ายตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515 หนังสือการ์ตูนและสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในเรื่องของแสตมป์ ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงแสตมป์ที่สำคัญๆไว้หลายชุดด้วยกัน รวมถึงยังมีล็อตเตอรี่รุ่นที่ 1 ของรัฐบาลสยามอีกด้วย
อาคารที่ 4 อาคารเจ้าพายุ
อาคารนี้เป็นอาคารที่สร้างจากรูปแบบของตะเกียงเจ้าพายุ โดยมีส่วนสูงประมาณ 13 เมตร ซึ่งภายในของอาคารนี้ นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปเพื่อชมวิวโดยรอบได้ เมื่อทุกท่านได้ชมกับของสะสมนานาชนิดที่ทำให้ท่านได้ย้อนกลับสู่อดีตแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีสถานที่ที่ให้ทุกท่านได้พักผ่อนหย่อนใจ ไปกับธรรมชาติ นั่นคือ บ่อปลาและกรงนกขนาดใหญ่ที่มีนกสวยงาม นานาชนิดให้ท่านได้ชื่นชม เช่น นกยูงไทยที่ในปัจจุบันหาดูได้ยากแล้ว
และยังมีบ่อเต่า รวมไปถึงบ่อจระเข้อีกด้วย และจุดหลังสุดของพิพิธภัณฑ์ ท่านจะได้พบกับอาคารสุดท้ายคือ
และยังมีบ่อเต่า รวมไปถึงบ่อจระเข้อีกด้วย และจุดหลังสุดของพิพิธภัณฑ์ ท่านจะได้พบกับอาคารสุดท้ายคือ
อาคารที่ 5 อาคารฟ้าประดิษฐ์
ซึ่งที่นี่ท่านจะได้พบกับเรือหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นเรือขุดที่ใช้ต้นไม้ทั้งต้นมาทำเป็นเรือขุดเพียงลำเดียวและภายในโรงเรือยังมีเรือนผูก ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างจากไม่ไผ่โดยไม่ต้องใช้ตะปูหรือลวดในการก่อสร้างเลย และภายในเรือนผูกได้จัดข้าวของเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตในสมัยก่อน ให้เยาวชนได้ศึกษาอีกด้วยและนี่เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่จะนำให้ท่านหลบพักความวุ่นวายในสังคมเมืองแล้วมาพักผ่อนพร้อมย้อนอดีตไปกับที่แห่งนี้...พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ์
ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์
อยู่ที่วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ิตำบลโคกปีบอำเภอศรีมโหสถจากตัวเมืองปราจีนไปตามถนนสุวินทวงศ(ทางหลวงหมายเลข319)ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร แล้วแยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 1กิโลเมตรเป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ วัดโดยรอบประมาณ 20 เมตร สูงประมาณ 30 เมตรสันนิษฐานว่าเป็นหน่อจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้จากพระพุทธคยา ประเทศอินเดียซึ่งนำเข้ามาปลูกเป็นต้นแรกเมื่อประมาณ 2,000 ปีถือ ว่าเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดปราจีนบุรี..
โบราณสถานสระมรกต
อยู่ที่วัดสระมรกต ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ จากตัวเมืองปราจีนบุรีไปตามถนนสุวินทวงศ์ (ทางหลวงหมายเลข 319) ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายอีกประมาณ 500 เมตร เป็นกลุ่มโบราณสถานทางพุทธศาสนาขนาดใหญ่ ที่สร้างซ้อนทับกันหลายสมัยเริ่มตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างศิลาแลงและอิฐ ส่วนใหญ่คงเหลือเฉพาะรากฐานอาคารเท่านั้น ระหว่างการขุดแต่งได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทคู่สลักอยู่บนศิลาแลงที่ฝ่าพระบาทสลักรูปธรรมจักรนูนทั้งสองข้างนับเป็นรอยพระพุทธบาทที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ใกล้กันมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่พบพระพุทธรูปและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากภายในบ่อนอกจากนี้ยังมีสระมรกตเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สระบัวหล้า และอาคารศรีมโหสถ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุที่ค้นพบในบริเวณนั้น ทั้งยังมีการจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ ประวัติความเป็นมาของโบราณสถานสระมรกต
ตลาดหนองชะอม
เป็นตลาดกลางขายสินค้าพื้นเมือง ของฝากจังหวัดปราจีนบุรีและจากจังหวัดอื่น ๆ จึงเป็นจุดพักรถของนักท่องเที่ยวที่ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 33 กม.151 ที่มีจุดหมายปลายทางในสถานที่ต่าง ๆของขายในตลาดส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าภายในจังหวัดปราจีนบุรีโดดเด่นด้วยผลไม้ตามฤดูกาล - ทุเรียนเนื้อหนา กระท้อนเนื้อนุ่ม มังคุดหวานหอม ส้มโอ มะไฟ และหน่อไม้ไผ่ตงซึ่งปัจจุบันมีขายตลอดทั้งปี เนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีหน่อไม้ไผ่ตงและปลูกจำนวนมากอีกทั้งมีคุณภาพ หน่ออ้วน ๆ รสหวาน เมื่อนำมาปรุงอาหารทั้งคาวหวานรับรองว่าอร่อยมาก หรือจะเป็น สินค้าแปรรูปอื่น ๆ เช่น แยมผลไม้ หน่อไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ทุเรียนทอด ขนุนทอด ในตลาดหนองชะอมก็มีให้เลือกมากมายนอกจากนี้แม่ค้ายังรับสินค้าจากต่างถิ่นมาจำหน่ายในช่วงนอกฤดูผลไม้ของปราจีนบุรี สินค้าจึงมีความหลากหลาย ผลัดเปลี่ยนไปตามฤดูกาลนักท่องเที่ยวที่เดินทางจะขากลับหรือขาไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวในเขตจังหวัดปราจีนบุรีหรือจังหวัดใกล้เคียง เช่น อุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน กิจกรรมล่องแก่ง หินเพิง ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นต้น จะแวะเลือกซื้อไป รับประทาน ระหว่างการเดินทางหรือเป็นของฝากกลับบ้าน สามารถซื้อได้ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ แม่ค้าเปิดขายทุกวัน
การเดินทาง
จากกรุงเทพมหานคร - เข้าตัวเมืองจังหวัดนครนายก ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 33 มุ่งหน้าไปยังจังหวัดปราจีนบุรี ขับรถจากแยกในตัวเมืองนครนายกประมาณ 14 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 151 ตลาดหนองชะอมจะอยู่ด้านขวามือ หากจะแวะซื้อต้องกลับรถ เลือกจอดได้ตลอดแนวตลาด
แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดปราจีนบุรี
ปฏิทินท่องเที่ยวจังหวัดปราจีนบุรี ประจำปี 2555
ของฝากของที่ระลึกจากปราจีนบุรี (Souvenir)
ศูนย์ OTOP พลาซ่า
จำหน่ายสินค้า OTOP และของดีเมืองปราจีนบุรี ณ อาคาร OTOP PLAZA บริเวณสี่แยกนเรศวร
ต.บ้านพระ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 09.00-18.00 น.
ผลไม้และผลผลิตการเกษตร
เป็นสิ่งที่ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัด เพราะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีคุณภาพดี
อาทิเช่น ทุเรียน เงาะ ส้มโอ กระท้อน มังคุด มะปราง มะไฟ รวมทั้งหน่อไม้ไผ่ตง
มีแหล่งจำหน่ายที่ตลาดผลไม้สามแยกหนองชะอม เขตอำเภอเมืองปราจีนบุรี
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
สบู่ขมิ้น/มังคุด ครีมล้างหน้ามะขาม แชมพู ยาสีฟัน ครีมบำรุงผิว ตะไคร้หอมกันยุง ยาหม่องเสลดพังพอน น้ำดื่มสมุนไพร ยาสมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ ผลิตและจำหน่ายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร.0-3721-1088 www.abhaiherb.com
ไม้กวาดดอกหญ้า
แหล่งผลิตอยู่ที่ตำบลประจันตคาม และตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม
หัตถกรรมจักสานจากไม้ไผ่ แหล่งผลิตอยู่ที่ตำบลประจันตคาม และตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม
เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่
แหล่งผลิตอยู่ที่บ้านโง้งและบ้านโพธิ์ อำเภอประจันตคาม ทำเป็นโต๊ะเก้าอี้ ชุดรับแขกสนาม ชั้นวางของ ฯลฯ
มีจำหน่ายตามริมทางที่แหล่งผลิตบนถนนสาย 33
หัตถกรรมจากใบลาน
แห่งผลิตอยู่ที่ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี นำส่วนต่างๆของต้นลานมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆอาทิ เช่น
ใบลาน นำมาแปรรูปเป็นเครื่องใช้ เช่น พัด กระเป๋า กล่องอเนกประสงค์ หมวกก้านลานนำมาประดิษฐ์
เป็นเฟอร์นิเจอร์รูปแบบต่างๆ ตามจินตนาการ เช่น โต๊ะ เก้าอี้นั่ง เก้าอี้นอน เตียงนอน เป็นต้น
เส้นสายลายศิลป์
ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์งานศิลป์ การแกะสลักลายกระจก ภาพลายนูนลงทอง20 ม.5 ถ.สุวรรณศร ต.นนทรี อ.กบินทร์บุรี
ผักกะเฉดชะลูดน้ำ
ผักพื้นบ้านของอำเภอกบินทร์บุรี เมื่อถึงฤดูกาลหน้าน้ำก็จะมีผักกระเฉด ยอดขาวอวบยาวชะลูดน้ำรับประทาน
เพราะไม่มีนมสีขาวให้ลอกออกเวลารับประทาน จำหน่ายที่บริเวณตลาดกบินทร์บุรี ในราคา 6 ยอด 5 บาท
ร้านน้ำพริกคุณสำรวย
81-85 ตลาดท่าตะคร้อ อำเภอกบินทร์บุรี ผลิตและจำหน่ายน้ำพริกหลายชนิด โทร.0-3728-2343, 0-3728-1294
เสื่อกก
มีการผลิตทั่วไปในอำเภอบ้านสร้าง โดยเฉพาะที่ตำบลบางปลาร้า มีการผลิตกันอย่างกว้างขวางทั้งตำบล ทำจากกกกระจูด กกสามเหลี่ยม และกกลังกา ส่วนใหญ่จะทำเป็นผืนสำหรับปูนอนและเสื่อพับ มีทั้งเสื่อกกธรรมดาไม่ย้อมสี และชนิดย้อมสี หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปในจังหวัดปราจีนบุรี
ถ่านไม้ไผ่
นายกิตติ เลิศล้ำ 0 3728 1824 , 0 1813 19 35 บ้านเลขที่ ม.1 ต.สัมพันตา อ.นาดี
กระยาสารทบ้านสร้าง
18/1 ม.2 ต.บ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี โทร. 0-3727-1137 , 08-1808-4920
ร้านนันทวันไหมไทย
90 หมู่ 2 ถนน 304 ใกล้วัดบุญเกิด ตำบลลาดตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จำหน่ายผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากไหม
โทรศัพท์ 0-3745-1238
ร้านบ้านสุขภาพดี
ตั้งอยู่ที่ 50/6 หมู่ 12 ถ.ปราจีนอนุสรณ์ ต.ท่างาม อ.เมือง จ.ปราจีนบรี บริเวณหน้าหมู่บ้านเพชรไพบูลย์ 2 ห่างจาก
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ประมาณครึ่งกิโลเมตร ติดกับร้านอาหารปักษ์ใต้ เป็นร้านขายสินค้าสุขภาพ ฯลฯ
มีผลิตภัณฑ์ดอยคำ ผลิตภัณฑ์โครงการหลวง สินค้าของฝาก และมีน้ำผลไม้ปั่นเพื่อสุขภาพ 19 สูตร (Smoothies)
คุณสุชาดา ไมตรีภักดีกุล โทร. 08-6380-7350
การเดินทางไปปราจีนบุรี
1.โดยรถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้หลายเส้นทาง ได้แก่
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงรังสิต แล้วใช้สะพานวงแหวนแยกขวามาเข้าเส้นทางหมายเลข 305 เลียบคลองรังสิต ผ่านอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 33 (นครนายก-ปราจีนบุรี) ถึงสามแยกหนองชะอม ประมาณกิโลเมตรที่ 155 แยกขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 319 จนถึงตัวจังหวัดปราจีนบุรี รวมระยะทางประมาณ 132 กิโลเมตร
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงแยกหินกอง ประมาณ กิโลเมตรที่ 90 แยกขวาใช้เส้นทางหมายเลข 33 ผ่านอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครนายก ไป จนถึงสามแยกบ้านหนองชะอม ประมาณกิโลเมตรที่ 155 ให้แยกขวาเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 319 จนถึงตัวจังหวัด ปราจีนบุรี รวมระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร
3. ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านเขตมีนบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม แล้วเข้าเส้นทางหมายเลข 319 ผ่านอำเภอศรีมโหสถ จนถึงตัวจังหวัดปราจีนบุรี รวมระยะทางประมาณ 158 กิโลเมตร
4. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 3481 ที่เขตหนองจอก ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี รวมระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร
2.โดยรถประจำทาง
มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-ปราจีนบุรี ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่www.thaiticketmajor.com
3. โดยรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดปราจีนบุรีทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2-3 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางและ ราคาตั๋วโดยสารของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทางเว็บไซต์ www.railway.co.th และจองตั๋วรถไฟก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 3 วัน ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2220-4444 ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.
จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้หลายเส้นทาง ได้แก่
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงรังสิต แล้วใช้สะพานวงแหวนแยกขวามาเข้าเส้นทางหมายเลข 305 เลียบคลองรังสิต ผ่านอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 33 (นครนายก-ปราจีนบุรี) ถึงสามแยกหนองชะอม ประมาณกิโลเมตรที่ 155 แยกขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 319 จนถึงตัวจังหวัดปราจีนบุรี รวมระยะทางประมาณ 132 กิโลเมตร
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงแยกหินกอง ประมาณ กิโลเมตรที่ 90 แยกขวาใช้เส้นทางหมายเลข 33 ผ่านอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครนายก ไป จนถึงสามแยกบ้านหนองชะอม ประมาณกิโลเมตรที่ 155 ให้แยกขวาเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 319 จนถึงตัวจังหวัด ปราจีนบุรี รวมระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร
3. ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านเขตมีนบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม แล้วเข้าเส้นทางหมายเลข 319 ผ่านอำเภอศรีมโหสถ จนถึงตัวจังหวัดปราจีนบุรี รวมระยะทางประมาณ 158 กิโลเมตร
4. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 3481 ที่เขตหนองจอก ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี รวมระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร
2.โดยรถประจำทาง
มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-ปราจีนบุรี ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่www.thaiticketmajor.com
3. โดยรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดปราจีนบุรีทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2-3 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางและ ราคาตั๋วโดยสารของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทางเว็บไซต์ www.railway.co.th และจองตั๋วรถไฟก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 3 วัน ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2220-4444 ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.
การเดินทางภายใน ปราจีนบุรี
ในตัวจังหวัดปราจีนบุรีมีรถชนิดต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลาย รูปแบบตามความเหมาะสม รถสองแถว มีวิ่งบริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง นักท่องเที่ยว อาจเหมา รถสองแถวไปเที่ยวได้ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ คิดราคาวันละ 1,000-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและการ ต่อรอง รถสามล้อเครื่องและมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาลหน้า สถานีขนส่ง และสถานีรถไฟ ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย
ระยะทางจากอำเภอเมืองปราจีนบุรีไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอบ้านสร้าง 20 กิโลเมตร
อำเภอศรีมโหสถ 20 กิโลเมตร
อำเภอศรีมหาโพธิ 21 กิโลเมตร
อำเภอประจันตคาม 30 กิโลเมตร
อำเภอกบินทร์บุรี 60 กิโลเมตร
ระยะทางจากอำเภอเมืองปราจีนบุรีไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอบ้านสร้าง 20 กิโลเมตร
อำเภอศรีมโหสถ 20 กิโลเมตร
อำเภอศรีมหาโพธิ 21 กิโลเมตร
อำเภอประจันตคาม 30 กิโลเมตร
อำเภอกบินทร์บุรี 60 กิโลเมตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น